ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดที่ให้บริการในประเทศไทย โดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะหน้าที่และวัตถุประสงค์ให้บริการได้ 5 ประเภท
1. ห้องสมุดแห่งชาติ (National Library) เป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ภายในประเทศ ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ ทำหน้าที่รวบรวมและรักษาวรรณกรรมของชาติ โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับประเทศไทย ศิลปวัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของประเทศ รวมทั้งจัดทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศแห่งชาติ กำหนดเลขมาตรฐานสารกลประจำหนังสือ (International Standard Number-ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serials Number-ISSN) โดยจัดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หอสมุดแห่งชาติใหญ่ๆ ในต่างประเทศที่ควรรู้จัก เช่น หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส ส่วนหอสมุดแห่งชาติของไทย ตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร และมีหอสมุดสาขากระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลำพูน ชลบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมา จันทบุรี เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงในส่วนภูมิภาค
2. ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์สารสนเทศในระดับอุดมศึกษาครอบคลุมหลักศูนย์กลางศึกษา และการวิจัยพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึษาได้พัฒนาสถานภาพของห้องสมุดให้เป็นสถาบันวิทยาการ สำนักวิทยาบริการ เพื่อให้มีสักยาภาพสูงในการดำเนินงาน สามารถจัดบริการสารสนเทศได้อย่างขว้างกว้างและลึกซึ้ง โดยการจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดสร้างฐานข้อมูลต่างๆ สร้างระบบเครือข่าย ข่ายงาน การบริการสารสนเทศทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และมีหลายแห่งได้มีการพัฒนาไปสู่ระบบห้องสมุดดิจิทัล และห้องสมุดเสมือน ในสถานศึกษาระดับวิทยาลัย มีการจัดตั้งศูนย์โดยรวมศูนย์สื่อการศึกษา ศูนย์โสตทัศนศึกษา และศูนย์การเรียนเข้าร่วมกัน โดยมีชื่อเรียกว่า ศูนย์วิทยาบริการหรือศูนย์การเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอน และการวิจัยให้บรรลุผลตามสถานศึกษา ดำเนินการทั้การจัดหาจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ตรงการความต้องการของผู้ใช้ และจัดระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทั้งนี้เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ตามความถนัดของผู้เรียน โดยรวมแล้วศูนย์ลักษณะนี้ทำหน้าที่คล้ายห้องสมุด แต่เพิ่มเติมพิเศษ คือนอกจากจะเป็นที่รวบรวมหนังสือต่างๆยังมีสื่อการสอนประเภทต่างๆไว้ให้บริการ ได้แก่ เทปตลับ เทปภาพ รวมทั้งเป็นศูนย์สื่อการศึกษา ช่วยครูผู้สอนในด้านการเตรียมวัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนต่าง ๆ ที่พร้อมให้ครูยืมใช้ได้ทันที รวมทั้งมีอุปกรณ์ผลิตสื่อการสอน เช่น คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ถ่ายภาพ ซึ่งจะเห็นว่าศูนย์มีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาอย่างมาก ผู้บริหาร อาจารย์ และบรรณารักษ์ที่ให้บริการ จะต้องให้ความร่วมมือกันเพื่อการมุ่งสู่การเรียนรู้อย่างแท้จริง
3. ห้องสมุดโรงเรียน เป็นที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนและครูโรงเรียน ใช้ประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตร ทั้งในระบบประถมศึกษาและมัธยมศึกษารวมทั้งเป็นศูนย์รวมวัสดุศึกษาทุกชนิด ที่ครอบคลุมเนื้อหาที่มีในสูตร ครู นักเรียนสามารถเลือกใช้ตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของแต่ละบุคคล ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งมีลักษณะเป็นศูนย์กลางศึกษา หรือศูนย์สื่อการเรียนการสอน เช่นเดียวกับห้องสมุดวิทยาลัย
4. ห้องสมุดประชาชน เป็นศูนย์กลางบริการสารสนเทศโดยตรงแก่ประชาชนทั่วไปในชุมชนมีทรัพยากรสารสนเทศประเภท เพื่อสนองความต้องการความสนใจของผู้ใช้โดยเปิดให้ประชาชนเข้าใช้และขอยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดได้ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัย โดยทำหน้าที่ให้บริการสื่อการเรียนการสอน เป็นสถานที่ค้นคว้าสำหรับศึกษา ในระบบการศึกษานอกระบบ (กศน.) และกลุ่มผู้สนใจ เพื่อทำกิจกรรมการศึกษาเป็นศูนย์กลางแนะแนวและศูนย์การเรียนไกลไทยคม การศึกษาตามอัธยาศัยที่มีสื่อประเภทต่างๆ คอยให้บริการ และจัดนิทรรศการ รวมทั้งบทบาทในการเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชนให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนสารสนเทศประเภทต่างๆ เป็นต้น
5. ห้องสมุดเฉพาะ เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ที่มีเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานหรือศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด ตัวอ่างเช่น ห้องสมุดคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ห้องสมุดส่วนราชการ บริษัทสมาคมโรงงาน เช่น ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร ห้องสมุดสวนบริภัณฑ์เพื่อการศึกษา
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ